EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใหม่ มีเทคโนโลยีมอเตอร์อัลตร้าโซนิค Nano USM ที่สามารถขับเคลื่อน AF ได้อย่างราบรื่น รวมทั้งมีแผงจอ LCD แสดงข้อมูลเลนส์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเลนส์ซีรีย์ EF นอกจากนี้ โครงสร้างเลนส์และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ยังมีการพัฒนาที่สำคัญหลายประการ เพื่อประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพที่ดียิ่งขึ้น ในส่วนต่อไป เรามาดูคุณสมบัติที่โดดเด่นของเลนส์รุ่นนี้โดยใช้ตัวอย่างจากการถ่ายภาพรถไฟกัน (เรื่องโดย: Koji Yoneya)
เมื่อพบสถานการณ์เช่นนี้ เลนส์สี่รุ่นของ Canon ที่มีระยะการซูมที่ 70-300 มม. (EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM, EF70-300mm f/4-5.6 IS USM, EF70-300mm f/4-5.6L IS USM และ EF70-300mm f/4.5-5.6 DO IS USM) สามารถรองรับความต้องการของเราโดยให้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นอีกเล็กน้อยได้ และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับกล้องแบบ APS-C ทางยาวโฟกัสจะยาวยิ่งขึ้นอีก (เทียบเท่ากับ 112-480 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ช่วงการซูมนี้จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายตัวแบบบางประเภท
เลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้มากมาย แต่ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือการใช้เทคโนโลยี Nano USM สำหรับขับเคลื่อนระบบ AF Canon พัฒนามอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) โดยปรับเปลี่ยนให้เป็นชิปขนาดบางเพื่อให้ AF ทำงานได้รวดเร็วและราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกของกลุ่มเลนส์ EF ที่ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มาพร้อมกับแผงจอ LCD ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลเลนส์ได้
EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มีโครงสร้างเลนส์แบบ 17 ชิ้นใน 12 กลุ่ม และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ ตลอดจนตำแหน่งของเลนส์ UD ได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นกัน นอกจากนี้ เลนส์ยังมาพร้อมม่านรูรับแสง 9 กลีบ และมีการปรับปรุงเอฟเฟ็กต์ IS ให้สูงถึงประมาณสี่สต็อปอีกด้วย
เนื่องจาก EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใช้ระบบการโฟกัสด้านหลัง ด้านหน้าเลนส์จึงไม่เคลื่อนหรือหมุนในระหว่างการโฟกัส และเลนส์ยังรองรับระบบแมนนวลโฟกัสแบบ Full-time ด้วย
EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม./ Shutter-priority AE (f/9, 1/1,000 วินาที, EV-0.3)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ภาพนี้เป็นภาพของรถไฟสายกาคุนัน ซึ่งเคยให้บริการในเส้นทางเคโออิโนะคาชิระ (ชิบูย่าไปคิชิโจจิ) ผมถ่ายภาพด้านหน้าของรถไฟ ซึ่งผมคิดว่าดูคล้ายกับใบหน้าน่ารักๆ โดยใช้ระยะเทเลโฟโต้ 300 มม. พร้อมกับใช้การติดตาม AF ใน Al Servo AF ภาพนี้ถ่ายทอดรายละเอียดที่ระยะเทเลโฟโต้ได้อย่างไม่มีที่ติ EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 219 มม./ Manual exposure (f/8, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ผมจับภาพสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ของฤดูใบไม้ผลิที่เขตอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรถไฟสายเล็กๆ วิ่งผ่าน เมื่อเปิดใช้งาน AF เพื่อจับโฟกัสดอกบ๊วยซึ่งเริ่มผลิบาน ผมรู้สึกทึ่งมากๆ ที่ AF สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ผมถ่ายรูปนี้ด้วยค่า f/8 ซึ่งสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เป็นธรรมชาติและดูไม่จงใจ EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 219 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 238 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: แสงในร่ม
ในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นช่วงเวลาที่ AF จะต้องติดตามหาโฟกัส แต่ก็สามารถจับโฟกัสได้สำเร็จในที่สุด EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 244 มม./ Manual exposure (f/8, 1/5 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ไฟสูงของไฟหน้ารถทำให้เกิดแหล่งแสงที่จ้ามากและอาจทำให้เกิดแสงหลอกได้ แต่ดังที่เห็นในภาพตัวอย่างนี้ แสงหลอกถูกปรับลดให้เหลือน้อยที่สุดจนอยู่ในระดับที่แทบมองไม่เห็น EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 83 มม./ Manual exposure (f/4.5, 1/8 วินาที, EV±0)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ
ผมรู้สึกสนุกที่ได้ถ่ายภาพรถไฟสายกาคุนันร่วมกับทิวทัศน์ยามค่ำคืนของโรงงาน เมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด แสงไฟที่สาดส่องช่วยทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ที่สวยงาม EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 96 มม./ Manual exposure (f/11, 20 วินาที EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
เพื่อสร้างเส้นแสง ผมใช้การเปิดรับแสงนาน 20 วินาที เพื่อถ่ายภาพรถไฟที่กำลังแล่นผ่านเขตอุตสาหกรรม ภาพนี้สามารถถ่ายทอดรายละเอียดของโรงงานได้อย่างงดงาม ตอนแรก ผมรู้สึกกังวลว่าเมื่อใช้เลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ผมอาจจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่อาจเป็นเพราะเลนส์มีน้ำหนักเบา เราจึงไม่เห็นการสั่นไหวของกล้องปรากฏขึ้นในภาพแต่อย่างใด
สรุป
เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เลนส์จึงต้องพัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มอบคุณสมบัติอันน่าทึ่ง เช่น ความเร็ว AF สูงของ Nano USM ขณะที่แผงจอแสดงข้อมูลเลนส์แบบใหม่ก็ใช้งานได้อย่างสนุกเช่นเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น ประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพยังได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเลนส์และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ ความก้าวหน้าพื้นฐานเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เลนส์นี้มีความน่าสนใจมากขึ้น
โดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้เลนส์ EF70-200mm f/4L IS USM แต่จำเป็นต้องใส่ท่อต่อเลนส์ เนื่องจากทางยาวโฟกัสระยะเทเลโฟโต้สั้นเกินไป หากคำนึงถึงคุณภาพของภาพถ่ายและค่ารูรับแสงสูงสุด ผมคิดว่า EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใช้งานได้ดีพอในสถานการณ์ที่คุณต้องการเดินทางแบบเบาๆ หากคุณวางแผนที่จะซื้อเลนส์ซูมเทเลโฟโต้สักอันหนึ่ง เลนส์รุ่นนี้เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา ที่มา : snapshot.canon-asia.com